โรคร้ายที่ซ่อนตัวในขวดเหล้า
เรื่องเด่น
แอลกอฮอล์
ดื่มมาก ทำให้ขาดสติ ก่อโรคนานาชนิด
นอกจากดื่มแล้ว "เมา" ดูเหมือนว่าสุรา และเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นสารเสพติดชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากการหมักผัก ผลไม้ หรือเมล็ดพืชชนิดต่างๆ ก่อนจะตบแต่งด้วยกลิ่น นักดื่มน้อยรายนักจะรู้จักฤทธิ์ของมันจริงๆ จังๆ
นายแพทย์ชาย มหิทธิภาคย์ แพทย์ประจำศูนย์ตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลเวชธานี บอกว่า "สุรา" หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ หากดื่มในปริมาณที่มากเกินไป และติดต่อกันเป็นเวลานาน นอกจากจะทำให้ผู้ดื่มขาดสติแล้ว ยังเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่างๆ มากมาย ได้แก่
กลุ่มโรคทางระบบประสาท ทำให้ความจำเสื่อม หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย เสียการควบคุมด้านอารมณ์ โรคนอนไม่หลับ กระบวนการการรับรู้ ความเข้าใจ บกพร่อง ขาดสติ จิตหลอน ประสาทหลอน โรคคลั่งเพ้อ เกิดจากโรคพิษสุราเรื้อรัง การทำหน้าที่ของสมองผิดปรกติ ส่งผลถึงการทำงานของอวัยวะภายในร่างกาย อาจทำให้กล้ามเนื้อส่วนปลายแขน ขา อ่อนแรง ปลายประสาทพิการ โรคซึมเศร้า โรคลมชัก และโรคระแวงเพราะสุรา
กลุ่มโรคมะเร็ง ไม่ว่าจะเป็น มะเร็งในปากและช่องปาก มะเร็งปลอดอาหาร มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับ มะเร็งเต้านมในผู้หญิง และมะเร็งรังไข่
กลุ่มโรคเรื้อรังอื่นๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ เช่น โรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรัง โรคเบาหวาน (เกิดจากตับอ่อนอักเสบ) โรคตับอักเสบ โรคตับแข็งจากสุรา โรคกระเพาะอาหารอักเสบ หรือโรคกระเพาอักเสบจากสุรา เพราะแอลกอฮอล์จะทำลายสารเคลือบกระเพาะ ทำให้เกิดแผลจนกระเพาะทะลุ หรือเลือดออกในกระเพาะ สังเกตได้จากการถ่ายอุจจาระ หรืออาเจียนเป็นเลือด โรคต่อมหมวกไต กระดูกพรุน โรคเกาต์ โรคพิษสุราเรื้อรัง
กลุ่มโรคหลอดเลือดและหัวใจ คนที่ดื่มสุราเป็นประจำมีโอกาสเกิดโรคหัวใจได้มากกว่าคนที่ดื่มน้อยกว่า เนื่องจากแอลกอฮอล์จะทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ และยังอาจทำให้เกิดความผิดปรกติของกล้ามเนื้อหรือเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมจากสุรา โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ สมองส่วนนอกลีบฝ่อ อาการระดับแอลกอฮอล์ในเลือดสูงเกิน โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหัวใจล้มเหลว
นอกจากนี้ฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ส่งผลให้ทารกมีน้ำหนักตัวแรกคลอดน้อย ปากแหว่งเพดานโหว่ ดวงตาและกรามมีขนาดเล็ก สมองเล็กกว่าปรกติ หัวใจผิดปรกติแต่กำเนิด แขน-ขาเจริญเติบโตผิดปรกติ ความสามารถในการมองเห็นน้อยกว่าทารกปรกติ ร้องกวนโยเยง่าย รูปร่างแคระแกร็น นอนหลับยาก และมีระดับสติปัญญาต่ำกว่าปรกติอีกด้วย
สำหรับคนที่ดื่มจนติดแล้วต้องการเลิกเหล้า ขอแนะนำว่าไม่ควรเลิกแบบทันทีทันใด แต่ควรลดปริมาณการดื่มลงทีละน้อย หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงการดื่มเหล้าได้ ควรรับประทานอาหารให้อิ่มท้อง พยายามอย่าให้ท้องว่าง ขณะเดียวกันควรหันไปดื่มน้ำผลไม้แทน และพยายามทำกิจกรรมต่างๆ หรือเล่นกีฬา ออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง กรณีที่มีอาการติดเหล้ารุนแรงควรมาพบแพทย์เพื่อทำการบำบัดรักษาและรับการตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำทุกปี

Did You know?
เครื่องดื้มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์แต่ละชนิดจะมีความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ต่างกันไป
1.เหล้า มีแอลกอฮอล์ 40%
2.ไวน์ มีแอลกอฮอล์ 12%
3.เบียร์ มีแอลกอฮอล์ 5%
ข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเวชธานี
Update 16-07-52
อัพเดทเนื้อหาโดย : ฤทัยรัตน์ ไกรรอด
เรื่องเด่น
แอลกอฮอล์

นอกจากดื่มแล้ว "เมา" ดูเหมือนว่าสุรา และเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นสารเสพติดชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากการหมักผัก ผลไม้ หรือเมล็ดพืชชนิดต่างๆ ก่อนจะตบแต่งด้วยกลิ่น นักดื่มน้อยรายนักจะรู้จักฤทธิ์ของมันจริงๆ จังๆ
นายแพทย์ชาย มหิทธิภาคย์ แพทย์ประจำศูนย์ตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลเวชธานี บอกว่า "สุรา" หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ หากดื่มในปริมาณที่มากเกินไป และติดต่อกันเป็นเวลานาน นอกจากจะทำให้ผู้ดื่มขาดสติแล้ว ยังเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่างๆ มากมาย ได้แก่
กลุ่มโรคทางระบบประสาท ทำให้ความจำเสื่อม หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย เสียการควบคุมด้านอารมณ์ โรคนอนไม่หลับ กระบวนการการรับรู้ ความเข้าใจ บกพร่อง ขาดสติ จิตหลอน ประสาทหลอน โรคคลั่งเพ้อ เกิดจากโรคพิษสุราเรื้อรัง การทำหน้าที่ของสมองผิดปรกติ ส่งผลถึงการทำงานของอวัยวะภายในร่างกาย อาจทำให้กล้ามเนื้อส่วนปลายแขน ขา อ่อนแรง ปลายประสาทพิการ โรคซึมเศร้า โรคลมชัก และโรคระแวงเพราะสุรา
กลุ่มโรคมะเร็ง ไม่ว่าจะเป็น มะเร็งในปากและช่องปาก มะเร็งปลอดอาหาร มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับ มะเร็งเต้านมในผู้หญิง และมะเร็งรังไข่
กลุ่มโรคเรื้อรังอื่นๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ เช่น โรคตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรัง โรคเบาหวาน (เกิดจากตับอ่อนอักเสบ) โรคตับอักเสบ โรคตับแข็งจากสุรา โรคกระเพาะอาหารอักเสบ หรือโรคกระเพาอักเสบจากสุรา เพราะแอลกอฮอล์จะทำลายสารเคลือบกระเพาะ ทำให้เกิดแผลจนกระเพาะทะลุ หรือเลือดออกในกระเพาะ สังเกตได้จากการถ่ายอุจจาระ หรืออาเจียนเป็นเลือด โรคต่อมหมวกไต กระดูกพรุน โรคเกาต์ โรคพิษสุราเรื้อรัง

กลุ่มโรคหลอดเลือดและหัวใจ คนที่ดื่มสุราเป็นประจำมีโอกาสเกิดโรคหัวใจได้มากกว่าคนที่ดื่มน้อยกว่า เนื่องจากแอลกอฮอล์จะทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ และยังอาจทำให้เกิดความผิดปรกติของกล้ามเนื้อหรือเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมจากสุรา โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ สมองส่วนนอกลีบฝ่อ อาการระดับแอลกอฮอล์ในเลือดสูงเกิน โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหัวใจล้มเหลว
นอกจากนี้ฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ส่งผลให้ทารกมีน้ำหนักตัวแรกคลอดน้อย ปากแหว่งเพดานโหว่ ดวงตาและกรามมีขนาดเล็ก สมองเล็กกว่าปรกติ หัวใจผิดปรกติแต่กำเนิด แขน-ขาเจริญเติบโตผิดปรกติ ความสามารถในการมองเห็นน้อยกว่าทารกปรกติ ร้องกวนโยเยง่าย รูปร่างแคระแกร็น นอนหลับยาก และมีระดับสติปัญญาต่ำกว่าปรกติอีกด้วย
สำหรับคนที่ดื่มจนติดแล้วต้องการเลิกเหล้า ขอแนะนำว่าไม่ควรเลิกแบบทันทีทันใด แต่ควรลดปริมาณการดื่มลงทีละน้อย หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงการดื่มเหล้าได้ ควรรับประทานอาหารให้อิ่มท้อง พยายามอย่าให้ท้องว่าง ขณะเดียวกันควรหันไปดื่มน้ำผลไม้แทน และพยายามทำกิจกรรมต่างๆ หรือเล่นกีฬา ออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง กรณีที่มีอาการติดเหล้ารุนแรงควรมาพบแพทย์เพื่อทำการบำบัดรักษาและรับการตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำทุกปี

Did You know?
เครื่องดื้มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์แต่ละชนิดจะมีความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ต่างกันไป
1.เหล้า มีแอลกอฮอล์ 40%
2.ไวน์ มีแอลกอฮอล์ 12%
3.เบียร์ มีแอลกอฮอล์ 5%
ข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเวชธานี
Update 16-07-52
อัพเดทเนื้อหาโดย : ฤทัยรัตน์ ไกรรอด